ท้องผูก ถ่ายยาก ท้องผูกเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม

ท้องผูก ถ่ายยาก ท้องผูกเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม

ท้องผูก ขับถ่ายไม่ดี (Constipation) ปัญหาสุขภาพยอดฮิตที่พบได้ในผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่วัยทารก วัยกลางคน ตลอดไปจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ โดยปัญหาท้องผูก จะทำให้เรารู้สึกแน่น อึดอัดตัว เพราะไม่ค่อยอุจจาระหรือเมื่อถ่ายอุจจาระก็รู้สึกได้ว่าถ่ายไม่สุด จนต้องหันมาพึ่งยาถ่ายเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกให้หายดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักปัญหาเหล่านี้ก็วนเวียนกลับมาใหม่ จนทำให้เกิดปัญหาท้องผูกเรื้อรังหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 

ท้องผูก มีอาการอย่างไร แบบไหนถึงเรียกว่าท้องผูก

ท้องผูก คือ อาการที่ร่างกายเริ่มประสบปัญหาด้านการขับถ่าย เริ่มจากการขับถ่ายที่น้อยลง (น้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์) อุจจาระที่ถ่ายออกมาเป็นก้อนแข็ง อาจมีก้อนใหญ่มากหรือมีลักษณะเป็นเม็ด รู้สึกว่าขับถ่ายได้ไม่สุด เหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ จนต้องออกแรงเบ่งและใช้เวลาในการขับถ่ายนานเป็นชั่วโมง หากคุณมีอาการเหล่านี้เท่ากับว่าคุณกำลังประสบปัญหาท้องผูก

ท้องผูกเกิดมาจากสาเหตุอะไร?

ปัญหาท้องผูกเกิดขึ้นได้จากหลายๆปัจจัยร่วมกัน ทั้งปัจจัยภายในร่างกายและปัจจัยจากภายนอก ดังนี้

- ปัจจัยภายในร่างกายที่ทำให้เกิดปัญหาท้องผูก เช่น ภาวะการทำงานของลำไส้ใหญ่ที่ผิดปกติ หรือสภาวะลำไส้เฉื่อย ทำให้ลำไส้บีบตัวได้น้อยจนส่งผลต่อการขับถ่าย ร่างกายมีความเครียดสะสม ชอบกลั้นอุจจาระเป็นประจำ หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงของโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน เส้นเลือดในสมองตีบ หรือโรคพาร์กินสัน ที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบการขับถ่าย

- ปัจจัยภายนอกร่างกายที่ทำให้ท้องผูก เช่น รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อยมาก ไม่ค่อยทานผักหรือผลไม้ ดื่มน้ำน้อย ไม่ออกกำลังกายและไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายและอาจเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยารักษาอาการซึมเศร้า หรือยาคุมกำเนิด

อาการท้องผูกโดยทั่วไป สามารถดูแลรักษาให้หายได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพิ่มการทานอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำให้เยอะขึ้น ออกกำลังกายและขยับตัวอยู่บ่อยๆ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ประสบปัญหาท้องผูกเรื้อรัง หายแล้วและเป็นใหม่อยู่เรื่อยๆ ก็อาจเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer) ได้


มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer) ภัยร้ายใกล้ตัวมากกว่าที่คุณคิด

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นตรงส่วนปลายของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งก็คือบริเวณลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุต้นๆของการเสียชีวิตที่พบในประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ทั้งนี้จากการศึกษาและการวิเคราะห์หาสาเหตุจากผู้ป่วย สามารถระบุปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ดังนี้

- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มักมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน
- สามารถพบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่จะพบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
- ประสบปัญหาท้องผูกเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้ขับถ่ายอุจจาระ ทั้งนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรังร่วมด้วย
- มักมีประวัติทานอาหารที่มีไขมันสูง และทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงในปริมาณมากเป็นเวลานาน
- มีประวัติดื่มสุรา สูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติดมาเป็นเวลานาน
- เป็นบุคคลที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย มีปัญหาโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกินและโรคเบาหวาน

อาการที่บ่งชี้ของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

- ระยะแรกผู้ป่วยมักประสบปัญหาท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องและมีอาการท้องผูก ไม่ค่อยถ่ายท้องสลับกับอาการท้องเสียเป็นระยะ
- รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด มีอาการปวดเบ่งในช่องทวารหนักตลอดเวลา อุจจาระที่ถ่ายออกมามีขนาดลีบเล็กลง
- มีเลือดปนออกมาในอุจจาระ ทั้งแบบมูกเลือดและถ่ายเป็นเลือดสด มักมีอาการคล้ายกับโรคริดสีดวงทวาร
- คลำพบก้อนในช่องท้อง โดยมักพบในบริเวณท้องขวาด้านล่าง
- เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นมักมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แต่ไม่ถ่าย ไม่ผายลม ตัวเริ่มซีด อ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร น้ำหนักตัวเริ่มลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

ทั้งนี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ ก็มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้มากขึ้นเท่านั้น ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยหรือไม่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 40 ปี ด้วยการตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระและการส่องกล้องในลำไส้ใหญ่ หรือในกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากก็ควรตรวจคัดกรองเช่นเดียวกัน หากตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น แพทย์ก็จะสามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาลำไส้ในส่วนนั้นออก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อมะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
 

วิธีดูแลตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ไม่ต้องกลัวหรือกังวลใจมากเกินไป เพราะเราสามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้หลากหลายวิธี ดังนี้

1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขยับร่างกายบ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
2. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีเส้นใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ฟักทอง มันเทศ เผือก ฯลฯ) และควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 1.5-2 ลิตร เพื่อกระตุ้นระบบขับถ่าย ลดอาการท้องผูก
3. ขับถ่ายให้เป็นเวลาและพยายามขับถ่ายเป็นประจำทุกวัน เมื่อเราขับถ่ายในเวลาเดิมเป็นประจำทุกวัน ร่างกายจะมีนาฬิกาชีวิต (Biological Clocks) ที่ช่วยจดจำเวลาที่เราขับถ่ายและทำให้เรารู้สึกอยากขับถ่ายในช่วงเวลาเดิมของวันได้
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง มีรสจัด และพยายามงดบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดทุกชนิด
5. หากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวเดิม เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคเส้นเลือดในสมองตีบ ที่มีปัญหาด้านการขับถ่ายอยู่แล้ว ควรเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เต้าหู้ ไข่ เนื้อปลา ผักใบอ่อน ฯลฯ เพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารและขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
6. หากเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง คือ มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองและควรเข้ารับการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นประจำ

  ปรับสมดุลการขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้นด้วย ยันฮี เวจจี้ มิกซ์ พลัส (YANHEE VEGGY MIX PLUS) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แก้อาการท้องผูกจากโรงพยาบาลยันฮี อัดแน่นด้วยสารสกัดจากธรรมชาติหลากหลายชนิดทั้งสารสกัดส้มแขก ชะเอมเทศ กระชาย ขิงแก่ ผักบุ้งและมะขาม ช่วยให้คุณขับถ่ายได้ดีขึ้น บรรเทาอาการท้องผูก ลดของเสียที่ตกค้างในลำไส้ให้หมดไป ให้ลำไส้สะอาด ช่วยให้หน้าท้องแบนราบ หมดปัญหาพุงป่องและหน้าท้องยื่นได้ง่ายๆเพียงแค่ทานครั้งละ 2 แคปซูลหลังมื้ออาหาร

  ปัญหาท้องผูก ขับถ่ายยาก ปัญหาสุขภาพที่ดูแล้วเหมือนจะไม่อันตรายจนหลายๆคนอาจมองข้ามไป มารู้ตัวอีกทีก็เริ่มประสบปัญหาท้องผูกเรื้อรัง มีอาการข้างเคียงต่างๆมากมายและเกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ การดูแลระบบขับถ่ายของเราให้เป็นปกติด้วยการรับประทานอาหารที่ดี ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พยายามขับถ่ายให้ได้ทุกวัน หรือหากมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคทางระบบขับถ่ายและโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้